pu sealant กับ silicone sealant ต่างกันอย่างไร

Polyurethane sealant (PU Sealant) กับ Silicone Sealant แตกต่างกันอย่างไร?

ในทุกโครงการงานก่อสร้างก่อนที่จะส่งมอบโครงการ จะมีการเก็บร่องรอยต่อระหว่างวัสดุกับวัสดุเพื่อให้เกิดความสวย งามเรียบร้อยและยังป้องกันสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นความชื้นจากภายนอก การร้าวรั่วซึมตลอดจนการป้องกันแมลงต่างๆ ซึ่งในการทำงานเหล่านี้จะเป็นการนำเอาวัสดุอุดรอยต่อที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานแต่ ละประเภทเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นการอุดรอยต่อระหว่างวงกบประตูหน้าต่าง ฝ้า ขอบบัวหรือขอบร่องรอยต่ออื่นๆภายในโครงการ ทั้งนี้วัสดุเคมีที่ใช้อุดรอยต่อโดยทั่วไปมักจะเป็นวัสดุที่มีความสะดวกในการใช้งานและเป็นวัสดุมีความคงทน โดยอย่างน้อยต้องอยู่ติดทนกับวัสดุ 3-5 ปีขึ้นไป เราจะเรียกวัสดุประเภทนี้ว่า Sealant ทั้งนี้ Sealant มีหลายประเภท สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึงซิลิโคนซีลแลนท์ Silicone Sealant และพียู ซีลแลนท์ Polyurethane Sealant (PU) ซึ่งเคมีทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันและมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป

หลายท่านคงรู้จักกับวัสดุอุดรอยต่อบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นซิลิโคนยาแนว Silicone sealant หรือ Polyurethane Sealant (PU sealant) หรือแม้กระทั่ง MS sealant ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงข้อแตกต่างระหว่างซิลิโคน ซีลแลนท์ กับ PU sealant ว่าจะมีความแตกต่างกันในมิติใดบ้าง มาเริ่มกันจากลักษณะของ Silicone sealant โดยทั่วไป Silicone sealant จะถือว่าเป็นวัสดุที่ใช้อุดรอยต่อ ป้องกันการร้าวรั่วซึมของตัวอาคารได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ Silicone sealant จะมี 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ซิลิโคนชนิดแบบกรดและซิลิโคนชนิดแบบไร้กรด

https://www.plptglobal.com/sealant-and-adhesive-product/#SILICONE-SEALANT

ซิลิโคนชนิดแบบกรดจะหาซื้อง่ายในท้องตลาดทั่วไป โดยลักษณะทั่วไปจะเป็นเนื้อซิลิโคนที่สามารถใช้อุดร่องรอยต่อภายในได้เป็นอย่างดี ใช้งานได้สะดวก แห้งไว แต่อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของกลิ่นที่ผสมกรด ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ใช้งานหรือผู้อยู่อาศัยได้รับผลกระทบบ้าง แต่ทั้งนี้กลิ่นต่างๆที่ระเหยออกมาขะสลายไปในอากาศในที่สุด นอกจากนี้ซิลิโคนชนิดแบบกรดยังมีข้อจำกัดอย่างอื่นอีกด้วย อย่างเช่นความยืดหยุ่นที่เหมาะสมกับการใช้งานภายในได้ดีกว่าภายนอก ตลอดจนความสามารถในการทนอุณหภูมิการทนแสงแดดและสภาพอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย อีกทั้งยังอาจเกิดการกัดกร่อนวัสดุบางประเภท เช่นเหล็ก อลูมิเนียมบางชนิด แผ่นโลหะบางชนิด ทองแดง เป็นต้น

ต่อไปเราจะพูดถึงซิลิโคนชนิดไร้กรดต้องบอกว่าซิลิโคนชนิดไร้กรด ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อกลบข้อด้อยของซิลิโคนชนิดกรด ไม่ว่าจะเป็นความยืดหยุ่นสูงกว่า ความคงทนต่อแสงแดดอุณหภูมิ ความชื้น ตลอดจนไม่มีกลิ่นกรดที่จะกระทบกับผู้ใช้งานและผู้อยู่อาศัย แต่ทั้งนี้ซิลิโคนชนิดไร้กรดอาจจะแห้งช้ากว่าซิลิโคนชนิดกรดนิดหน่อย และหากเทียบซิลิโคนทั้ง 2 ตัวนี้แล้วจะเห็นได้ว่าซิลิโคนชนิดไร้กรดมีข้อดีที่มากกว่าซิลิโคนชนิดกรด เพราะนอกจากจะไม่มีสารระเหยรบกวนผู้ใช้งานแล้วยังไม่มีสารกัดกร่อนวัสดุอีกด้วย จึงถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานกับวัสดุที่ค่อนข้างมีความ sensitive

สำหรับการใช้งานของ Silicone sealant

โดยทั่วไปมักจะใช้ในลักษณะของการป้องกัน การอุดรอยต่อกันร้าวรั่วซึมเช่นการใช้งานระหว่างขอบวงกบประตูหน้าต่าง การใช้งานระหว่างขอบผนังที่เป็นปูนกับกระจก หรือการใช้งานระหว่างขอบร่องที่เกี่ยวข้องกับตัวฝ้าเพดานเพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำฝน และเนื่องจากเนื้อของซิลิโคนจะค่อนข้างมีน้ำหนักเบา ทำให้การใช้งานในลักษณะการคว่ำลง 180 องศาหรือการใช้งานบนฝ้าเพดานจะไม่ก่อให้เกิดการไหลย้อย สามารถใช้งานได้เป็นอย่างสะดวกมากขึ้น

Polyurethane Sealant ก็จะประกอบด้วย 2 ประเภทหลักๆเช่นกัน

https://www.plptglobal.com/sealant-and-adhesive-product/#CONSTRUCTION-SEALANT-AND-PU-FOAM

คือ pu sealant ชนิด Low Modulus และ pu sealant ชนิด High Modulus สำหรับ pu sealant โดยทั่วไปจะบรรจุในฟรอยด์อลูมิเนียมขนาด 500 ML 600 ML เป็นต้น การใช้งานจะแตกต่างกับ Silicone sealant ซึ่งจะใช้ปืนยิงขนาดที่ไม่เท่ากัน เพราะ pu sealant จะใช้ปืนยิงกาวที่ใหญ่กว่า

สำหรับ pu sealant ชนิด Low Modulus จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง อย่างเช่นการ joint พื้นคอนกรีตอาคารที่ติดกับถนน หรือการ joint พรีแคสอาคารที่มีการสั่นสะเทือนอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจาก pu sealant ชนิด Low Modulus นั้นจะมีความยืดหยุ่นที่มากกว่าทำให้รองรับการเคลื่อนไหวของวัสดุได้ดีกว่า ต่อไปจะเป็น pu sealant ชนิด High Modulus ต้องบอกว่าเหมาะกับโครงสร้างที่ต้องการความแน่นหนา ไม่ได้มีความยืดหยุ่นมากนัก อย่างเช่น Top ครัวเคาน์เตอร์ครัว อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการ Built in ต่างๆ ซึ่งต้องการความคงทนเป็นอย่างมาก หากจะพูดง่ายๆก็สามารถกล่าวได้ว่า pu sealant ชนิด High Modulus นั้นจะมีเนื้อที่แข็งแรงมากกว่าแต่จะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า pu sealant ชนิด High Modulus นั่นเอง

ทีนี้เราจะมาพูดถึงคุณสมบัติหลักๆของ pu sealant เนื่องจากเป็นนวัตกรรมที่มีการผสมผสานของเนื้อเคมีที่สามารถช่วยสร้างความยืดหยุ่นได้ดีและมีคุณสมบัติหลักๆ คือมีความคงทนสามารถทนกับสภาพอากาศภายนอกได้เป็นอย่างดี จึงสามารถใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก อีกทั้งยังสามารถทาสีทับได้อีกด้วย

สำหรับลักษณะการใช้งานโดยทั่วไป

เช่น พื้น การอุดร่องรอยต่อระหว่างผนังพรีแคส การอุดร่องรอยต่อการร้าวรั่วซึมของระบบหลังคา คุณสมบัติที่ดีมากๆของ pu sealant อีกอย่างนึงคือมีลักษณะเหนียวเหมือนกาวก่อนการแห้งตัว ผู้ใช้งานและช่างหลายท่านจึงสามารถนำมาใช้แทนกาวได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดลูกบันได การติดเฟอร์นิเจอร์ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ การติดพื้นไม้ พื้นลามิเนต การติดฝ้าเพดานการอุดร่องรอยต่อร้าวรั่วซึมระหว่างขอบวงกบประตูหน้าต่างและอีกมากมาย จึงกล่าวได้ว่า pu sealant นั้นสามารถใช้งานได้อย่างครอบคลุม โดยใช้เป็นทั้งกาวอุดรอยต่อและกาวยึดติดได้ทั้ง 2 อย่างพร้อมกัน

ข้อแตกต่างหลักๆระหว่าง ซิลิโคน ซีลแลนท์ Silicone Sealant และ พียู ซีลแลนท์ Polyurethane Sealant คือ

  1. ลักษณะของเนื้อผลิตภัณฑ์ ซิลิโคน ซีลแลนท์ Silicone sealant จะมีเนื้อที่บางเบากว่า เนื้อมันวาวมีความยืดหยุ่นสูง ส่วน พียู ซีลแลนท์ pu sealant จะมีเนื้อที่มีลักษณะหนักกว่ามีความด้านกว่า มีความยืดหยุ่นสูงเช่นกัน
  2. ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ซิลิโคน ซีลแลนท์ Silicone sealant ทั่วไปจะบรรจุอยู่ที่ 280-300 ML ในขวดพลาสติก โดยรายการจัดจำหน่ายจะจำหน่ายอยู่ในลัง 20 ขวดถึง 25 ขวดและจะมีฝาจุกสำหรับการยิงซิลิโคนแถมไปในลังด้วย ส่วน พียู ซีลแลนท์ pu sealant จะบรรจุอยู่ที่ 500 ถึง 600 ml ในฟอยล์ไส้กรอก โดยบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมควรจะมีถุงเก็บอุณหภูมิและสารกันชื้นห่อหุ้มตัวเนื้อฟอยล์ของ pu sealant โดยทั่วไปจะบรรจุอยู่ที่ 20 เส้นต่อ 1 ลังจำหน่ายพร้อมกับหัวจุกสำหรับใช้ในการยิง
  3. ลักษณะการใช้งาน Silicone sealant เหมาะกับงานอุดร่องรอยต่อกันร้าวรั่วซึม เช่นวงกบประตูหน้าต่างกระจกอลูมิเนียม upvc พีวีซีโลหะหรือวัสดุอื่นๆหรือฝ้าเพดานที่ต้องการการป้องกันการร้าวรั่วซึมหรือป้องกันสัตว์หรือแมลง ส่วน pu sealant สามารถใช้ในงานอุดร่องรอยต่อกันร้าวรั่วซึมและยังสามารถใช้เป็นคุณสมบัติกาวได้อีกด้วย เช่นพื้นคอนกรีตผนังพรีแคสวงกบประตูหน้าต่างแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตร่องรอยต่อระหว่าง 2 วัสดุ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นคุณสมบัติกาว เช่น การติดลูกบันไดการติดวัสดุกับผนังการติดไม้เหล็กและวัสดุอื่นๆ
  4. ความแตกต่างทางด้านราคา หากเทียบปริมาณสำหรับเคมีทั้งสองชนิดนี้แล้วจะพบว่ามีราคาที่ใกล้เคียงกันโดยผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานจากลักษณะการใช้งานได้ เนื่องจากราคาที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
  5. ข้อจำกัด Silicone sealant คือ ไม่สามารถทาสีทับได้เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นเนื้อซิลิโคนจึงมีความมันวาวทาสีไม่ติด ส่วน pu sealant สามารถทาสีทับได้ และ pu sealant จะมีความหนักมากกว่าในกรณีที่ต้องใช้งานแบบกับหัว 360 องศา ซึ่งอาจจะมีการย้อยตัวของเนื้อ PU sealant ได้

วิธีการใช้งาน

วิธีการใช้งาน Silicone sealant

โดยทั่วไปคือ ตัดปลายหลอดของซิลิโคนจากนั้นก็ตัดปลายหลอดยิงของซิลิโคนให้ได้ขนาดที่เหมาะสมกับร่องที่ต้องการใช้งาน หมุนฝายิงซิลิโคนให้ติดกับหลอดของซิลิโคน จากนั้นสวมหลอดเข้าไปในปืนยิงซิลิโคนจัดการล็อคหลอดกับปืนยิงให้แน่นหนา และทำการยิงซิลิโคนไปยังพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน หากพบว่าร่องน้ำเป็นร่องที่มีลักษณะลึกและกว้างให้สามารถใช้ Banking Rod หรือโฟมเส้นในการเติมเต็มร่องก่อน 1 ชั้นการใช้ backing rod โฟมเส้นจากสามารถทำให้การยิงซิลิโคนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากการยิงซิลิโคนแล้วไม่ตกร่องจนมากเกินไปหากซิลิโคนตกร่องจนมากเกินไปจะทำให้เนื้อซิลิโคนที่อยู่ผิวหน้ายุบตัวไม่สวยงาม อีกทั้งยังอาจเกิดผลกระทบต่อการกันร้าวรั่วซึมของเนื้อซิลิโคนด้วย เมื่อปาดยิงซิลิโคนเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ไม้ปาดซิลิโคนหรือวัสดุปาดซิลิโคนที่มีทำการปาดผิวหน้าเนื้อซิลิโคนให้เรียบเนียนไปกับวัสดุและปล่อยให้ซิลิโคนแห้งโดยปกติทั่วไปควรจะแห้งผิวหน้าที่ประมาณ 10-20 นาที และจะแห้งตัวเต็มที่ที่ประมาณ 24 ชั่วโมง             

วิธีการใช้งาน pu sealant

โดยทั่วไปสำหรับ Pu sealant (Polyurethane Sealant) จะมีกระบอกปืนที่เป็นลักษณะเฉพาะซึ่งแตกต่างจากปืนของ Silicone sealant ให้ทำการตัดปลายหลอดฟอยล์ของ Pu sealant จากนั้นทำการหมุนฝาจุกเข้าไปที่ปากซอยของ pu sealant แนะนำเข้าไปใส่ในปืนหมุนฝาเกลียวปืนให้แน่นหนา และทำการยิงออกมาเพื่อใส่ร่องวัสดุที่ต้องการ ในการปาดผิวหน้าของ pu sealant ก็จะคล้ายกับการปาดผิวหน้าของซิลิโคน คือให้ใช้ไม้ปาดผิวให้เรียบเนียนจากนั้นทิ้งไว้ให้แห้ง หลังจากแห้งแล้ว หากต้องการทาสีทับสามารถทาสีทับได้

อย่างไรก็ตามเคมีที่เกี่ยวข้องกับการอุดร่องรอยต่อกันราวรั่วซึมที่ดีควรจะต้องมีการทดสอบระดับ American Standard เพื่อให้สามารถเชื่อมั่นได้ว่าเป็นรอแมททีเรียลที่ได้คุณภาพ เพราะปัจจุบันมีเคมีหลายชนิดที่สามารถนำเข้ามาผสมเพื่อลดต้นทุนของสินค้าชนิดนี้ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยกับคุณภาพที่ลดลง แต่หากจะให้ไปลงลึกรายละเอียดเคมีแต่ละตัวที่ผสมก็อาจจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีส่วนผสมของเคมีมากมาย วิธีที่ดีและง่ายที่สุดในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือการมองหาสัญลักษณ์ที่มีการรับรองมาตรฐานระดับสากล และมีการการันตีจากผู้ผลิตว่าเป็นสินค้าที่ได้คุณภาพ และหากมีการชำรุดหรือเสียหายของสินค้าสามารถที่จะพูดคุยกับผู้ผลิตโดยตรงได้ ก็จะเป็นการซื้อที่คุ้มค่ามากกว่า

สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างน้อยคืออายุการใช้งาน 9-12 เดือนหรือไม่เกิน 15 เดือนหากซื้อสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพจากผู้ผลิตที่ไม่ได้คุณภาพจะทำให้ส่วนประกอบของวัตถุดิบเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาในอนาคตได้ทั้งนี้จึงแนะนำผู้ผลิตที่อยู่ในประเทศ เพราะว่าจะมีการตรวจสอบคุณภาพได้ทุกเวลา และยังการันตีผลิตภัณฑ์ที่สุดใหม่ไม่ค้างสต๊อกอีกด้วย เพราะอย่าลืมว่าหากคุณสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศจะต้องมีระยะเวลาในการผลิต ระยะเวลาในการขนส่ง ระยะเวลาในการตรวจสอบก่อนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศซึ่งตรงนี้ก็จะกินเวลาไปไม่ต่ำกว่า 3 ถึง 4 เดือนแล้วกว่าจะมาใช้งานจริงก็อาจจะกลายเป็นสินค้าหรือกลายเป็นวัตถุดิบที่เสื่อมคุณภาพไปแล้วนั่นเอง

จากที่กล่าวถึงคุณสมบัติข้างต้นของซิลิโคน ซีลแลนท์ และ pu sealant จะเห็นได้ว่าเคมีทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติและการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยในการใช้งานที่มีความเฉพาะ อย่างเช่น การใช้งานภายในที่ต้องการงานที่มีความละเอียดก็สามารถใช้ซิลิโคนซีลแลนท์ได้ เนื่องจากว่ามีขวดที่เล็กกระทัดรัดมากกว่าแต่หากต้องการใช้งานที่ค่อนข้างมีลักษณะใหญ่ เช่นการใช้พรีแคส การจ๊อยพื้นโรงงาน การติดลูกบันไดช่างส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้เป็น PU sealant เพราะใช้งานได้ตรงจุดประสงค์มากกว่า ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบราคาของวัสดุทั้งสองประเภทนี้แล้วจะพบว่าราคาค่อนข้างใกล้เคียงกัน เนื่องด้วยจากคุณสมบัติที่คล้ายกันจึงเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้งานว่าจะเลือกใช้ตัวไหนมากกว่า

บริษัทพีแอลพีทีทีโกลบอลซัพพลายจำกัดเป็นบริษัทผู้ผลิตที่ดำเนินการผลิตสินค้าเคมีก่อสร้างและสินค้าทุกประเภทมากกว่า 30 ปีโดยบริษัทได้มีการร่วมมือกับผู้ผลิตรายใหญ่จากญี่ปุ่นและไต้หวัน เพื่อร่วมกันพัฒนาสินค้าที่เหมาะสมกับภูมิภาคเอเชียจนได้สูตรการผลิตที่ดีที่สุด จากนั้นได้มีการร่วมมือกันเพื่อส่งวัตถุดิบจากบริษัทคู่ค้ามายังประเทศไทยเพื่อทำการผลิตสินค้าในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าการผลิตสินค้าในประเทศไทยจะช่วยให้อายุของสินค้ายาวนานถึง 1 ปีเต็มนอกจากนี้เรายังมีทีมตรวจสอบคุณภาพทีมบริการลูกค้าที่จะรับฟังปัญหาข้อติชมและทำการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งลูกค้ายังสามารถตรวจสอบคุณภาพตรวจสอบวันเดือนปีที่ผลิตตรวจสอบรถการผลิตได้อย่างถูกต้อง

https://www.facebook.com/plptglobal/

Categories: